ทศวรรษแห่งความสำเร็จ

2519  

ก้าวแรกของการเข้าสู่ธุรกิจเครื่องมือเที่ยงตรงสูงตามสั่ง กับความท้าทายในเบื้องต้นของ คุณอนันต์ โสภัณอนัต์กิจ ด้วยงานผลิตชิ้นส่วนสำคัญสำหรับประกอบในชุดเครื่องฉายภาพยนต์แบบ 35 มม. ซึ่งต้องการความเที่ยงตรงสูงระดับ 0.01 มม.เพื่ออัตราการขยาย x 700 เท่า สำหรับความนิ่งของภาพที่ปรากฎบนจอ ขนาดกว้าง 25 เมตร มีความชัดเจนไม่สั่นไหว ด้วยกระบวนการผลิตแบบต้นทุนต่ำที่ใช้เพียงเครื่องกลึงแบบ MANUAL 2 เครื่อง กับอุปกรณ์พื้นฐานงานช่างผนวกกับความอุตสาหะและภูมิปัญญาที่ตนมีทดแทนการลงทุนเทคโนโลยีราคาสูงผลสำเร็จในยุคนั้นได้กลายเป็นแนวความคิดพื้นฐานสู่ความสำเร็จของ A.L.K. ต่อมา

2533

ย้ายสถานที่ประกอบการ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท เอ.แอล.เค. พรีซิชั่น เวอร์ค (1976) จำกัด ให้เหมาะกับทิศทางของธุรกิจที่มุ่งสู่งานเครื่องมือเที่ยงตรงสูงตามสั่ง โดยได้ขยายพื้นที่และเริ่มนำเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CNC) มาใช้ในกระบวนการผลิตจำนวน 3 เครื่อง ซึ่งเป็นการยกระบดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีความสม่ำเสมอยิ่งขึ้น

2538

ได้รับการติดต่อเพื่อเข้าร่วมโครงการรพัฒนาเทคโนโลยีกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยทุกโครงการที่เราขอรับการส่งเสริม ได้รับการตอบรับและให้การสนับสนุนแก่เราด้วยดี ซึ่งเป็นการยกระบดับขีดความสามารถในกระบวนการผลิต โดยการใช้เทคโนโลยีให้เกิดผลยิ่งขึ้น

2540

ได้นำระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO 9000 มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือดำเนินการปรับปรุงระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้รับการรับรองในปี พ.ศ. 2541 และต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001:2000 ซึ่งนับเป็นบริษัทแรกในธุรกิจประเภทนี้ของประเทศ ที่ได้รับการรับรอง

2546

 ได้รับการคัดเลือกจากนำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรน์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ให้ A.L.K. เป็นบริษัทแรกที่มีการพัฒนาเป็นกรณีตัวอย่างและได้รับรางวัล "นักได่ระดับเทคโนโลยีดีเด่น" ในช่วงปีต่อมา

2547

จัดทำห้องสอบเทียบเครื่องมือวัดภายในภายใต้ชื่อ "บริษัท เอ.แอล.เค แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี่ จำกัด" เพื่อรองรับการยกระบบการผลิตเครื่องมือที่เที่ยงตรงสูง

2549

เพิ่มขอบข่ายการให้บริการ โดยรับออกแบบ ทดสอบ ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ในหมวดคมตัด หมวดเครื่องมือวัด และเครื่องมือสอบเทียบ รวมถึงหมวดอื่นๆ (จำเพาะรายการ) ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 ซึ่งเกี่ยวกับการสอบเทียบทางด้านมิติ จากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้เปิดบริการสอบเทียบให้กับลูกค้า จากภายนอกด้วย ซึ่งเป็นการอ้างอิงความเทียบได้ถึงระดับสากล

2550


ประสบความสำเร็จในการผลิตและควบคุมความแม่นยำของผลิตภัณฑ์สำเร็จที่ 1 µm :50 มม. ความเสถียร </=0.5 µm ต่อปี ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายแรกของประเทศไทยที่ทำได้ ได้รับรางวัล "BEST iTAP PARTNERSHIP AWARD" เพื่อแสดงความขอบคุณที่ให้การสนับสนุนโครงการ iTAP อย่างต่อเนื่องในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี การประชาสัมพันธ์โครงการ และการอนุเคราะห์ต่อกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ iTAP หรือโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสหกรรมไทย (Industrial Technology Assistance Program)

Logo SOCOTECUKAS ISO 9001